วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บรรณานุกรม


  

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  ( 2554 ).  วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544.  ค้นเมื่อ  22 กันยายน 2554, จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_11_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2544
ความรู้รอบตัว. (2532).กรุงเทพฯ: โอ .เอส.พริ้นดิ้ง เฮ้าส์.
นิภาพร เมืองจันทร์, ธารารัตน์ พรยิ้ม, โยธกา ถานะลุน, สุธัญญมาศ บุระมุช และ สุภารัตน์ คำแดง. [ม.ป.ป.].  ระดับสมรรถภาพปอดของตำรวจจราจร จังหวัดอุบลราชธานี.  UBU Jouranl, 13(1), 68-74.

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดพิมพ์โปรเจ็ก

  • ใช้กระดาษขนาด A4 สีขาวในการพิมพ์
  • ตั้งค่าหน้ากระดาษขอบบนและขอบซ้ายเท่ากับ 1.5 นิ้ว (3.81 ซม.)
  • ขอบล่าง และขอบขวาเท่ากับ 1 นิ้ว (2.54 ซม.)
  • ใช้ฟอนต์ Angsana New ขนาด 16 ในส่วนของเนื้อหา 
  • ใข้ฟอนต์ Angsana New ขนาด 18 ในส่วนของหัวข้อรายงานที่บรรทัดแรก                          กึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • ใช้ตัวอักษรหนาเฉพาะส่วนที่เป็นหัวข้อเท่านั้น
  • กรณีที่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่เนื่องจากเนื้อหามีความยาว ในเริ่มพิมพ์ชิดขอบซ้าย 
  • จัดรูปแบบเนื้อหาโดยรวมให้ชิดขอบซ้ายและขอบขวา
  • เนื้อหารายงานที่มีศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้พิจารณาว่าคำนั้นมีการแปลและใช้ใน                   ภาษาไทยแล้วหรือไม่ ถ้ามีให้ใช้ภาษาไทยแล้ว วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ                            ในครั้งแรก (ครั้งต่อไปไม่ต้องใส่วงเล็บอีก) แต่ถ้าเป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีใน                         ภาษาไทยให้ใช้ภาษาอังกฤษ
  • คำใดที่ใช้และรู้จักกันดีในภาษาไทยแล้ว ไม่จำเป็นต้องวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ
  • ระวังการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ ("   ") เนื่องจากเครื่องหมายดังกล่าวจะใช้                         ในการคัดลอกข้อความ ซึ่งต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาด้วย
  • กรณีพิมพ์ต้องขึ้นบรรทัดใหม่เนื่องจากเนื้อหามีความยาว ในเริ่มพิมพ์ชิดขอบซ้าย
  • จัดรูปแบบเนื้อหาโดยรวมให้ชิดขอบซ้ายและขวา

โครงเรื่อง

โครงเรื่อง โปรเจ็กรถจักรยาน
รถจักรยาน เป็นพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนไปโดยกำลังของกล้ามเนื้อมนุษย์ รถจักรยานนอกจากจะต้องเบา ก็จะต้องมีความฝืดที่เกิดขึ้นระหว่าง ล้อกับพื้นดินน้อยที่สุด และอาจจะเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นได้พอสมควร
ก่อนคริสต์ศักราช 2300 ปี ชาวจีนได้ประดิษฐ์ยานพาหนะทางบกที่มีลักษณะคล้ายรถจักรยานขึ้น และต่อมาชาวอียิปต์ และอินเดียก็ได้ประดิษฐ์ขึ้นเช่นเดียว กันแต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง
 ในปี ค.ศ. 1790 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Count Mede de Sivrac ได้ประดิษฐ์ยานพาหนะคล้ายรถจักรยาน ประกอบด้วยล้อ 2 ล้อ เชื่อมกันด้วยไม้ ทำเป็นรูป คล้ายหลังม้า หรือหลังสัตว์ต่างๆ และเคลื่นที่ไปข้างหน้าด้วยการไสด้วยเท้า ใช้ชื่อยานพาหนะนี้ว่า Celerifere หรือ Velocifere มาจากภาษาลาติน Cefer แปลว่า เร็ว และ Fere แปลว่า บรรทุก
ต่อมาในระหว่างปี ค.ศ. 1816 - 1818 Baron Karl Friedrich von drais de Sauerbrun ชาวเยอรมันได้ปรับปรุง Celerifere ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ สำหรับบังคับทิศทาง และมีที่นั่งที่มีสปริง และถือว่าเป็นรถจักรยานคันแรก ของโลก ในฝรั่งเศษ ได้นำมาใช้ และให้ชื่อว่า Draiseinne เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้ ประดิษฐ์ขึ้น ศาสตราจารย์ David Gordon Wilson แห่ง MIT ได้กล่าวว่า von Drais เป็นผู้ประดิษฐ์จักรยานคันแรกของโลกสำหรับในอังกฤษ ไม่เห็นด้วยกับชื่อที่ฝรั่งเศษได้ตั้งขึ้น และตั้งชื่อใหม่ว่า "Hobby horse หรือ Danny horse" ในปี ค.ศ. 1820 von Drais ได้ทำสถิติขึ้นเป็นครั้งแรกในประวิติศาสตร์ของรถจักรยาน โดยขี่ระหว่างเมือง Beaume กับเมือง Dijon ด้วยความเร็ว ชั่วโมงละ 15 กิโลเมตร
     
 ในปี ค.ศ. 1821 นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ชื่อ นาย Louis Gompertz ได้ปรับปรุงDraisienne โดยใส่เกียร์และสลักที่ล้อหน้า แต่ยังคงใช้เท้าไสไปบนพื้น ถ้า ใครที่ขาแข็งแรงดีก็สามารถทำความเร็วได้ 16 - 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาในปี ค.ศ. 1839 Kirkpatrick MacMillan ช่างทำเกือกม้าชาวสกอตซ์ ได้เปลี่ยน hobby horse มาเป็นรถจักรยาน โดยเลิกการใช้เท้าไสไปบนพื้นดิน และใส่ก้านบันไดที่ล้อหน้าผู้ขี่จะปั่นลูกบันไดและบังคับตัวรถโดยเท้าไม่ต้องแตะพื้นดิน ทำให้มีรูปร่างคล้ายรถจักรยานมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1860 สองพี่น้อง Pirre และ Ernest Michaux ชาวฝรั่งเศษ ได้ประดิษฐ์รถจักรยานที่มีล้อหน้าและล้อหลังเกือบเท่ากัน และใช้ กำลังขับเคลื่อนโดยการติดตั้งก้านบันไดที่ดุมล้อหน้า เรียกว่า Velocipede Pierre Lallement ซึ่งแยกตัวออกจากครอบครัว Michaux และได้ต่อ Velocipede ขึ้น และได้รับความนิยมมาก ชาวอเมริกัน ให้ฉายาว่า boneshakerต่อมาถึงช่วงของผู้ประดิษฐ์ ยอดเยี่ยมชาวอังกฤษชื่อ James Starley ได้ปรับปรุงตามแบบ boneshaker ของ Michaux และภายหลังได้รับ ความสำเร็จในการประดิษฐ์รถจักรยานที่เรียกว่า "Penny Farthing" (เหรียญบาท กับเหรียญสลึง) คือล้อหน้าเหมือนเหรียญ เพ็นนีของอังกฤษ และล้อหลังเล็กเหมือนเหรียญฟาร์ทิงเนื่องจากรถจักรยานเหรียญบาท และเหรียญสลึงค่อนข้างอันตราย ในปี 1879 H.J. Lawson ได้ประดิษฐ์รถจักรยานนิรภัย ขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ไม่ได้ประดิษฐ์สู่ตลาด ต่อมาในปี ค.ศ.1884 James Starly ได้ประดิษฐ์ รถจักรยานแบบนิรภัย ซึ่ง ประกอบด้วยล้อหน้าและล้อหลังเท่ากัน และโซ่โยงไปกับล้อหลัง
 ในปี ค.ศ. 1880 Humber และคณะได้ผลิตรถจักรยานตัวถังเป็นรูปขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นแบบอย่างของจักรยานสมัยปัจจุบันนี้
     
 ในปี ค.ศ. 1984 การแข่งขันจักรยานยนต์ในกีฬาโอลิมปิก สหรัฐอเมริกา ได้มีการวิวัฒนาการจักรยานมากที่สุด ตัวถังรถจักรยานเปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นรูปสามเหลี่ยม ให้กับทีมจักรยานแบบทีมเปอร์ซูทของสหรัฐฯ ใช้ในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก ความจริงการวิวัฒนาการนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มอนเต้ แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของอิตาลี ได้ประดิษฐ์จักรยานรูปสามเหลี่ยมให้ ฟรังเดสโก้ โมเชอร์ เวลา 60 นาที สามารถขี่ได้ระยะทาง 50.644 กม. ที่สนาม ในร่มเมืองสตุตการ์ท เยอรมันตะวันตกจักรยานเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการประชุมรถจักรยานเป็นครั้งแรกที่วังบูรพาภิรมย์ เนื่องในโอกาส ที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จกลับจากยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2442
 ในปัจจุบันมีจักรยานหลายชนิด มีตั้งแต่ 1 ล้อ ไปจนถึงหลายล้อ หรือจักรยานที่มีการดัดแปลงแบบแปลกๆ เช่น มีล้อหน้าใหญ่ แต่ล้อหลังเล็ก จักรยานยัง เป็นเครื่องมือในการแข่งขันกีฬาประเภทหนึ่งด้วย
ประเภทจักรยานแบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ                                                             1. Road Bike จักรยานแข่งขัน หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าจักรยานเสือหมอบ จักรยานเสือหมอบเป็นจักรยานที่มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่ แต่บาง มีขนาดล้อที่ใหญ่ (28 นิ้ว) หน้ายางบาง เพื่อเพิ่มความเร็วในการขับขี่ มีน้ำหนักอยู่ที่ 6-11 กิโลกรัม แต่จักรยานที่ใช้แข่งขันต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 6.8 กิโลกรัม (เบากว่ากระเป๋านักเรียนเด็กประถมบ้านเราอีก) อัตราการทดความเร็วด้วยเกียร์ในจักรยานเสือหมอบทั่วไปค่อนข้างสูง (4.4/1 ถึง 1.85/1) ดังจะเห็นได้จากเกียร์หน้ามีขนาดใหญ่และเกียร์หลังมีขนาดเล็ก                               

สามารถแบ่งรถประเภทนี้ย่อยลงไปอีกเป็น                                                                 
1 .1Road Bike หรือ เสือหมอบ                                                                                             1.2 Triatlhlon หรือรถสำหรับไตรกีฬา
1.3 Cyclocross รถถนนแบบวิบาก
1.4 Timetrial  รถแข่งทำเวลาในระยะทางสั้นๆ
2. Mountain Bike
ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1973 รัฐ California สหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เริ่มต้นในการสร้างครั้งแรกเพื่อการขับขี่แบบผ่อนคลาย แต่ด้วยโครงสร้างที่แข็งแกร่งจึงมีคนนำรูปแบบจักรยานไปใช้ในการขับขี่ จักรยานผาดโผน หรือขับลุยในพื้นที่ป่าหรือภูเขา Specialized เป็นบริษัทแรกที่ผลิตจักรยาเสือภูเขาในรูปแบบอุตสาหกรรม (รุ่น Stumpjumper ในปี 1981) หลังจากนั้นความนิยมในตัวจักรยาเสือภูเขาก็มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันแทบทุกบริษัทที่ผลิตจักรยาน จะผลิตจักรยานเสือภูเขาออกสู่ตลาดด้วยเสมอ
จักรยานเสือภูเขามีลักษณะเฉพาะคือ ตัวถังที่ค่อนข้างสั้นและเตี้ย วัศดุที่ใช้เป็น อลูมิเนียม หรือคาบอนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ล้อเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 26 นิ้ว) และยางหน้ากว้าง มีเกียร์ไม่ต่ำกว่า 21 เกียร์ (3x7) ส่วนมากจะมีโช้คอัพในส่วนของตะเกียบหน้า ส่วนโช้คอัพตรงตัวถังนั้นมีให้เห็นทั่วไป แต่ยังไม่ถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ด้วยลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้จักรยานเสือภูเขาเป็นจักรยานที่เสถียร แข็งแกร่ง แต่มีน้ำหนักเบา ความนิยมในตัวจักรยานเสือภูเขาจึงมากขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่ซื้อจักรยานเสือภูเขา ไม่ได้นำไปจักรยานเสือภูเขาไปขับขี่โลดโผน หรือลุยป่าลุยเขา

เสือภูเขาที่เราคุ้นเคย ก็แบ่งย่อยลงไปเป็น
2.1 Mountain Bike Hardtail หางแข็งที่คุ้นเคย
2.2 Mountain Bike Softtail  หางอ่อน คือมีระบบกันสะเทือนด้านหลัง แต่ตัวรถไม่มีจุดหมุน ให้ช่วงยุบประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว
2.3 Mountain Bike Full Suspension  ที่มีช่วงยุบไม่เกิน 4 นิ้ว
2.4 All Mountain คือ Full Sus ที่มีช่วงยุบ มากกว่า 4 นิ้ว แต่ไม่เกิน 6 นิ้ว
2.5 Freeride คือ Full Sus ที่มีช่วงยุบ มากกว่า 6 นิ้ว แต่ไม่เกิน 8 นิ้ว
2.6 Downhill คือ Full Sus ที่มีช่วงยุบ มากกว่า 8 นิ้วขึ้นไป
2.7 Dirtjump รถโดด พวกนี้ส่วนมากหางแข็ง ช่วงยุบหน้าไม่มากไม่เกิน 130 มม.
2.8 Four cross (4X) รถแข่งในสนามที่ทำเป็นรอบๆมีเนินโดด คล้าย BMX ปล่อยตัวที่ละ 4 คน รถพวกนี้ยุบไม่เยอะ 4-5 นิ้ว แต่องศาท่อนั่งจะลาดไปข้างหลังเยอะให้โดดได้ง่าย
2.9 Dual Slalom (DS) แข่งลงเขาสั้นๆ ปล่อยตัวที่ละ 2คน เลนใครเลนมัน ลงให้เร็วที่สุด รถพวกนี้ก็ยุบไม่เยอะแต่องศารถคล้าย Downhill ลาดทั้งหน้าและหลังเพราะลงอย่างเดียว ไม่เผื่อปั่นขึ้นเลย ปัจจุบันไม่ค่อยมีแข่งแล้ว เพราะถูก 4X มาแย่งความนิยมไปหมดซึ่งหลายคนอาจรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะเคยใช้ขับขี่ในสมัยเด็ก ๆ BMX เป็นจักรยานที่มีขนาดเล็กแต่แข็งแกร่ง เพราะต้องใช้ในการขับขี่ผาดโผน ล้อที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ และหน้ายางที่กว้างกว่าปกติ ทำให้จักรยาน BMX เป็นจักรยานที่มีการทรงตัวที่ดี แต่ไม่เหมาะสมกับการขับขี่โดยทั่วไป เพราะอัตราทดความเร็วที่ต่ำ และรูปทรงที่เตี้ย ทำให้คนปั่นเมื่อยหัวเข่า เวลาที่ต้องปั่นจักรยานในระยะทางไกล
การแข่งขันมีดังนี้
1. การแข่งขันจักรยานแบบไทม์ไทรอัล มีทั้งประเภทลู่และถนน เป็นการแข่งขันที่ใช้เวลาเป็นหลัก คือในเวลา 1 ชั่วโมง จะขี่จักรยานได้ระยะทางเท่าไร สรุปก็คือเป็นการแข่งขันกับเวลา นักจักรยานจะต้องแข่งกับเวลานักจักรยานคนใดทำเวลาได้น้อยที่สุดถือเป็นผู้ชนะ ถ้าทำเวลาได้ดีที่สุดทั้ง 3 คน ก็ให้เป็นที่ 1 ทั้ง 3 คน
2. การแข่งขันจักรยานแบบสปริ้นท์ การแข่งขันนี้เปรียบเหมือนการเล่นหมากรุกบนจักรยาน ต้องใช้กลวิธีต่างๆ อย่างสมบูรณ์เป็นการแข่งขันที่ตื่นเต้นเร้าใจ สนุกสนานที่สุด
เริ่มต้นแข่งขันจะไม่ใช้ความเร็ว นักจักรยานที่จับฉลากได้จะเป็นผู้ขี่นำในรอบที่ 1 จะขี่เร็วหรือช้าก็ได้ นักจักรยานอีกคนหนึ่งจะขี่ตามหลังไม่ยอมขึ้นหน้า พอครบรอบที่ 1 หรือขึ้นรอบที่ 2 ก็จะเร่งความเร็วขึ้นหรืออาจช้ากว่าเดิมก็ได้ จะขี่ฉวัดเฉวียนกันขึ้นๆลงๆ บนพื้นเวลโลโดม หาจังหวะของคู่ต่อสู้เผลอบางครั้งก็แกล้งหลอกให้คู่ต่อสู้เป็นผู้ขี่อยู่ข้างหน้า เมื่อเหลืออยู่อีก 200 เมตร จะถึงเส้นชัยก็จะสปริ้นท์แข่งขันเข้าเส้นชัย ห้ามใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ ในการที่จะทำให้เกิดการปะทะกัน จะต้องรักษาเส้นทางของตนไว้จนกว่าจะเข้าเส้นชัย
3. การแข่งขันจักรยานแบบเดี่ยวเปอร์ซูท คือการแข่งขันระหว่างนักจักรยาน 2 คน เริ่มคนละด้านของสนาม เมื่อเริ่มแข่งขันนักจักรยานทั้ง 2 คนขี่ครบ 4,000 เมตร แต่การแข่งขันอาจจบลงก่อนครบระยะทางได้ถ้าหากจักรยานคนหนึ่งไล่อีกคนหนึ่งทัน แต่ถ้าต่างคนต่างไล่กันไม่ทันใครขี่ครบระยะทางก่อนถือเป็นผู้ชนะ
การไล่ทันกัน คือ เมื่อชุดเฟืองโซ่ของคู่แข่งขันมาอยู่ในระดับเดียวกันกับชุดเฟืองโซ่ของตน
การแข่งขันจักรยานแบบทีมเปอร์ซูท เป็นการแข่งขันระยะทาง 4 กิโลเมตรประกอบด้วยนักจักรยานทีมละ 4 คนเริ่มต้นแข่งขันโดยแต่ละทีมจะอยู่ตรงข้ามกัน และขี่เพื่อไล่อีกฝ่ายหนึ่งให้ทัน
การไล่ทัน คือ ถือเอานักจักรยานคนที่ 3 ของทีมที่ไล่มาอยู่ในระดับเดียวกันกับนักจักรยานคนที่ 3 ของอีกทีมหนึ่ง การขี่จะขี่เรียงกันจะเปลี่ยนกันขี่นำหน้าทุกๆ ครึ่งรอบหรือหนึ่งรอบจนกว่าจะครบระยะทาง 4,000 เมตร
การจับเวลาและจัดตำแหน่ง ถือเอาล้อหลังของนักจักรยานคนที่ 3 ของทีม ผ่านเส้นชัยไป
4. การแข่งขันจักรยานแบบฟอร์ทเรซ เป็นการแข่งขันประเภทลู่ที่มีระยะทางยาวที่สุด หรูหราที่สุด ความเร็วของจักรยานจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งนำหน้าบางครั้งก็หล่นไปอยู่ข้างหลัง ให้คะแนนทุกๆ 4 รอบ ในรอบให้คะแนนนักจักรยานที่ 1 ถึง 4 จะได้คะแนน 5, 3, 2, 1 ตามลำดับ การสปริ้นท์เอาคะแนนมี 18 ครั้ง สำหรับครั้งที่ 9 และครั้งสุดท้ายคะแนนจะเป็น 2 เท่าของธรรมดา นักจักรยานที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะถ้ายังเสมอกันให้ถือตำแหน่งเข้าเส้นชัยรอบสุดท้าย
5. การแข่งขันจักรยานแบบแมสสตาร์ท เป็นการแข่งขันคล้ายสปิ้นท์แต่จำนวนของจักรยานจะมากอาจจะเป็นกลุ่มๆ ละไม่เกิน 8 คน นักกีฬาคนที่เข้าเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะที่ 1 แล้วเรียงไปจนคนสุดท้ายนักกีฬาจะสู้กันเต็มที่เมื่อเหลือระยะทาง 800 เมตร หรือ 400 เมตรเท่านั้น นอกนั้นจะคุมเชิงกันอยู่ตลอดทำให้ไม่หน้าเบื่อ จะสนุกก็ตอนท้ายเท่านั้น
6. การแข่งขันจักรยานแบบอีลิมิเนชั่น เป็นการแข่งขันเดี่ยว โดยคัดผู้ที่เข้าเป็นคนสุดท้ายในการสปริ้นท์ออก เริ่มแข่งขันให้ขี่ฟลายอิ้งสตาร์ตด้วยความเร็วปานกลาง 1 รอบ ถ้าสนามที่สั้นกว่า 330.33 เมตร ให้มีการสปริ้นท์ทุก 2 รอบ เมื่อเหลือ 2 คนสุดท้าย ตัดสินด้วยตำแหน่งล้อหน้าบนเส้นชัย
หมายเหตุ ทีมใดที่สตาร์ตผิดกติกา 3 ครั้ง ถ้าในรอบแรกจะถูกให้ออกจากการแข่งขัน ถ้าในรอบต่อไปจะถูกจัดให้เป็นอันดับสุดท้าย ถ้าในรอบชิงชนะเลิศจะถูกตัดสินให้เป็นที่ 2
7. การแข่งขันจักรยานแบบทีมระยะไกล ให้ใช้ระบบคะแนนนักจักรยานคนใดที่ผ่านเส้นชัยคนที่ 1 จะได้ 1 คะแนน คนที่ 2 จะได้ 2 คะแนน คนที่ 3 จะได้ 3 คะแนน และต่อไปจนครบทุกคน เมื่อครบรอบแล้วให้เอาคะแนนมารวมกัน ทีมใดได้คะแนนน้อยกว่าเป็นผู้ชนะถ้าคะแนนเท่ากันให้เอาเวลาของ 3 รอบมารวมกัน ทีมใดที่ทำเวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
อุบัติเหตุมี 2 ประเภท
1. อุบัติเหตุที่ยอมรับได้มี 3 อย่าง
- การล้ม
- ยางแตก
- การชำรุดเสียหายของชิ้นส่วนหลักที่สำคัญของจักรยาน (ให้ผู้นั้นเริ่มสตาร์ตใหม่)
2. อุบัติเหตุที่ยอมรับไม่ได้ คือ อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น (ต้องออกจากการแข่งขัน)
ประเภทการแข่งขันที่เป็นที่นิยม
ประเภทการแข่งขันบนถนน
1. ทัวร์ เดอร์ ฟร็องซ์ (Tour de France) ซึ่งจะแข่งขันกันในระยะทาง 3,400 กิโลเมตร แข่งขันเป็น 24 ช่วงต่อวัน
ประเภทการแข่งขันลู่
1. การแข่งขันความเร็วระยะสั้น (Sprint) จำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2 - 3 คน โดยจะแข่งกัน 1 รอบหรือมากกว่า การจับเวลาจะทำในช่วงระยะสุดท้าย
2. การแข่งขันประเภทต่อแต้ม (Handicap race) เป็นการแข่งขันระยะไม่เกิน 800 เมตร
3. การแข่งขันประเภทเดี่ยวแบบไล่ตาม (Individual pursuit) เป็นการแข่งขันระหว่าง 2 คนไล่เป็นวงกลม ประเภทชายระยะทาง 4,000 เมตร ส่วนประเภทหญิงระยะทาง 3,000 เมตร และ 5,000 เมตร สำหรับมืออาชีพ
4. การแข่งขันประเภททีมแบบไล่ตาม (Team pursuit) จะมีผู้เข้าแข่งขันทีมละ 4 คน ใช้วิธีจับเวลาการแข่งขัน โดยดูเวลาของผู้เข้าแข่งขัน 3 คนแรก ของแต่ละทีมเข้าสู่เส้นชัย ทีมใดทำเวลาได้ดีเป็นผู้ชนะ
5. การแข่งขันประเภทไล่ตามออสเตรเลียน (Australian pursuit) เป็นการแข่งประเภททีมๆ ละ 8 คน ใช้การนับจำนวนรอบ หรือกำหนดเวลาเป็นการตัดสิน
6. การแข่งขันประเภทไล่ตามอิตาเลียน (Italian pursuit) แข่งระหว่าง 2 - 3 ทีม แต่ละทีมมีผู้เข้าแข่งขัน 5 คน ขี่จักรยานคนละ 1 รอบ เมื่อครบแล้วให้คนต่อไปเข้าไปแทนจนครบ 5 คน ทีมใดทำเวลาได้น้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
7. การแข่งขันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (Point - to - point) เป็นการแข่งขันแบบเก็บคะแนนในแต่ละรอบ หรือหลายๆ รอบ ผู้ชนะคือผู้ที่ทำคะแนนได้สูงที่สุด แม้จะเข้าเส้นชัยเป็นอันดับหนึ่งก็ตาม
8. การแข่งขันที่ไม่มีต่อ เป็นการแข่งขันระยะไกล 8 กิโลเมตร และ 16 กิโลเมตร โดยผู้เล่นทั้งหมดออกตัวพร้อมกันที่เส้นเริ่มต้น การแข่งขันประเภทนี้มีหลายรูปแบบหลากหลาย เช่น " Devil - take - the - hindmost " ซึ่งจะแข่งขันเป็นรอบๆ ผู้ที่เข้าแข่งขันเข้าเส้นชัยเป็นคนสุดท้ายในแต่ละรอบจะถูกคัดออก หรือการแข่งขันที่เรียกว่า " Unknown distance " ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะไม่ทราบระยะทางที่ต้องแข่ง จนกว่าจะมีเสียงดังของระฆังดังขึ้น เพื่อแสดงว่าเป็นการแข่งรอบสุดท้าย
9. การแข่งขันแบบทีมผลัด (Madison racing) โดยผู้เข้าแข่งขันขี่จักรยานเป็นคู่ คนหนึ่งอยู่ในลู่ ส่วนอีกคนรออยู่ และผลัดเปลี่ยนกันเมื่อผู้เข้าแข่งที่อยู่ในลู่ดันคู่ของตนให้ขี่ต่อไปเมื่อครบรอบ
10. การแข่งขันจักรยานวิบาก (Cyclo - cross) มักจะแข่งกันในฤดูหนาว โดยเส้นทางการแข่งขันมีทั้งผ่านป่าไม้ ทุ่งหญ้า และถนนต่างๆ ที่จะต้องไม่เสี่ยงกับอันตราย เช่น มีลักษณะเป็นขั้นบันได เป็นต้น ระยะทางการแข่งขันไม่เกิน 24 กิโลเมตร แต่ถ้าแข่งขันเป็นรอบ แต่ละรอบจะมีระยะทางไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร
11. การแข่งขันจักรยานไต่เขา (Hill climb) เป็นการแข่งขันเฉพาะประเภทชายในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร หรืออาจน้อยกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชันของภูเขาที่แข่งขัน
12. การแข่งขันแบบจับเวลา (Timetrial) จะต้องแข่งขันตามระยะทางที่กำหนด โดยทำเวลาให้น้อยที่สุด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกตัวห่างกันคนละประมาณ 1 นาที
ระยะทางแบ่งออกเป็นระยะสั้นๆ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร ระยะทางกลางประมาณ 160 กิโลเมตร สำหรับผู้ชาย และ80 กิโลเมตร สำหรับผู้หญิง ส่วนระยะทางไกลประมาณ 160 กิโลเมตร 12 ชั่วโมง สำหรับผู้หญิง และ160 กิโลเมตร 12 ชั่วโมง สำหรับผู้ชาย
13. การแข่งขันบนลูกกลิ้ง (Roller race) เป็นการแข่งขันจักรยานอยู่กับที่บนลูกกลิ้งรองรับ 3 อัน โดยลูกกลิ้ง 2 อันอยู่ติดกันจะรองรับน้ำหนักของล้อหลัง ส่วนลูกกลิ้งอีกอันจะรองรับล้อหน้า ผู้ที่ทำระยะทางดีที่สุดเป็นผู้ชนะ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แปลเพลงส่งคะ

Chut Noon Ae By Kang Sung Min แปลเพลง

หัวใจของฉันเต้นๆหยุดๆเสมอ
หัวใจของฉันเป็นเหตุที่ทำให้หัวใจออนลง
ผมเหมือนตาย
นับวัน
ไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดเมื่อใด
ทำไมฉันถึงเคว้งคว้าง
ฉันไม่ลังเลว่าทำไมฉันอยากจะพูด
ไม่ว่าความรักหรือโชคชะตา,ชีวิตแม้.....
จางหายไปในด้านหน้าของทั้งหมด
ฉันกลัวที่จะหายไปจากทุกคน
กลัวเพียงเดินผ่านคุณ
โปรดอย่าปฎิเสธหัวใจของฉัน
หัวใจฉันถูกทำลายโดยครั้งแรกของคุณ
หัวใจของฉันหวั่นไหวทำอะไรไม่ถูก
เพียงแค่เหมือนคนงี้เง่า
ทำให้ร้องไห้
มันก็เริ่มจะเฟดเดอร์และเฟดเดอร์ทำไม
หัวใจของฉันเป็นเหตุผลว่าทำไมในความทุกข์ทรมานมากขึ้นและมากขึ้นหรือไม่
น้ำตาไหลในขณะที่ถอนหายใจ
ก็ไร้ประโยชน์ในการอำลา
คุณเป็นเช่นสายลมชั่วคราว
ผ่านโดยไม่มีร่องรอย
โปรดอย่าปฎิเสธหัวใจของฉัน
ฉันถูกทำลายโดยครั้งแรกของคุณ
หัวใจของฉันหวั่นไหวทำอะไรไม่ถูก
มันเป็นความทรงจำ
ถ้าหิมะนี้เคยหยุด
หัวใจของฉันก็จะสามารถสงบเช่นเดียวกัน
จะกระจายเปรียบเสมือนหิมะลอย
เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
ความทรงจำของฉันคงจะล่องลอยไป
ผมดำเนินชีวตต่อไปได้หรือไม่
ฉันจะถูกทำลายโดยครั้งแรกของคุณ
ฉันเสียใจ
เพียงแค่เหมือนคนงี้เง่า
ทำให้ร้องไห้
เมื่อเวลาผ่านไป
หัวใจที่เคยสงบลง
มันจะถูกฝังอยู่ในหิมะลึก
หัวใจยังคงต้องเผาไหม้ด้วยความปรารถนา
ความทรงจำของฉันและเธอ
จนลมหายใจสุดท้ายของฉัน
มันจะถูกสลักลึกในหัวใจของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว…
ในวันที่ฤดูร้อนกำลังจะสิ้นสุด ขณะกระต่ายภูเขาตัวหนึ่งขุดโพรงใกล้ต้นไม้อย่างขะมักเขม้น นกน้อยซึ่งเกาะกิ่งไม้เฝ้ามองร้องถามอย่างแปลกใจว่า
“เธอไม่คิดว่าโพรงมันเล็กไปหน่อยหรือจ๊ะ”
“ไม่หรอกครับ” กระต่ายตอบด้วยความสุภาพพอกัน เขาเป็นกระต่ายหนุ่มที่แข็งแรงมาก แม้ปากจะพูดไปด้วย ขาทั้งสี่ก็ทำงานไม่หยุดทีเดียว
“ทำไมถึงคิดว่ามันจะเล็กไปหละครับ ประเดี๋ยวสิ รอให้เสร็จเสียก่อน เธอจะเห็นโพรงที่กระต่ายโสดอย่างผม จะอยู่ได้สบายเลยทีเดียว” 
“อ้าว ! สร้างบ้านใหม่อย่างนี้ เธอไม่มีครอบครัว ไม่มีแม่กระต่าย ไม่มีลูกกระต่ายหรอกเหรอ?”นกน้อยเสียงหลงอย่างประหลาดใจ
“ ไม่มีครับ” 
“แล้ว...แล้ว อยู่คนเดียวอย่างนี้ เธอไม่เหงาหรือจ๊ะ” 
กระต่ายป่านิ่งคิดครู่หนึ่ง
“ก็...ก็มีบ้างครับ”
“ก็มีบ้าง...” นกน้อยเอาปลายปีกเกาศรีษะ 
“ก็นั้นสิ เหงา แล้วเธอก็ยังยืนยันจะอยู่คนเดียวต่อไปอีก เธออยู่ได้อย่างไร ฉันไม่เข้าใจ” 
กระต่ายป่าตบดินรอบปากโพรงเป็นครั้งสุดท้าย แต่แทนที่จะมุดเข้าไปข้างใน มันกลับเอนตัวนอนพิงโคนไม้ มองฟ้าใส แดดอุ่นอย่างเป็นสุข ลมพัดเบาๆ ทำให้ดอกไม้ดอกหนึ่งจากกิ่งที่นกน้อยเกาะอยู่หมุนคว้างลงมา มันจึงคว้าเอาไว้
กระต่ายไม่คิดจะตอบคำถามของนกน้อย แต่ในเมื่อเธอเร่งเร้ามาอีกครั้ง มันจึงใช้เท้าปุยๆและฟูเหมือนดอกไม้บาน ชีไปอีกด้านหนึ่งของภูเขา ที่ซึ่งมีกระท่อมหลังเล็กๆ หลังหนึ่งปลูกอยู่ แล้วจึงเล่านิทานเรื่องหนึ่งให้นกน้อยฟัง 
เป็นเรื่องของผู้ชายหนึ่ง ผู้ชายที่อยู่เพียงลำพังคนเดียวบนภูเขาภาคเหนือ
เขาไม่ใช่คนแถวนี้แต่ก็อยู่มานานพอดูแล้ว เขาปลูกผัก หาของป่า และทุกแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็น เขาจะร้องเพลงให้ตัวเองฟัง 
เคยมีเหมือนกัน เคยมีกระต่ายภูเขา ตัวตุ่น แมวป่า หมาจิ้งจอก กระรอก ฯลฯ ที่ล้วนแต่มีรัง มีโพรง มีครอบครัวอยู่ใกล้ๆ กระท่อมหลังนั้น ซุบซิบกันอย่างสงสัยว่าผู้ชายคนนี้เป็นใคร มาจากไหนทำไมเขาถึงอยู่คนเดียว ไม่เหงาหรือ? 
แต่ก็ไม่เคยมีเคยเอ่ยปากถามเขาสักที
จริงๆแล้วผู้ชายคนนี้ก็มีเวลาที่เงียบเหงา ดูเข้าไปนัยน์ตาของเขา บางครั้งคล้ายว่ากำลังคิดถึงใครสักคน...ใครสักคนที่อยู่ไกลออกไป
ในวันหนึ่งของปลายฤดูร้อน เมล็ดฝนจำนวนมากกรู่ลงมาจากก้อนเมฆ เหมือนเด็กตัวเล็กๆวิ่งสุดฝีเท้ากลับบ้านในวันที่ครูใหญ่ประกาศปิดเทอม สายฝนพรั่งพรายราวสายทองในแสงเงิน
ชายเดียวดายเดินออกจากกระท่อมเงยหน้ารับฝนแรกด้วยใจไม่ยินดียินร้าย หากแต่ในรุ่งเช้า เมื่อเขาเปิดหน้าต่างออก ภาพที่เห็นคือความงามอันน่าอัศจรรย์ ภูเขาทั้งลูกห่มคลุมด้วยผ้าห่มสีม่วง ครั้นเมื่อลมพัดเบาๆ สีม่วงก็คล้ายดั่งผืนน้ำ ระบำเต้นเป็นรวงคลื่น
นั้นคือทะเลดอกต้อยดิ่ง ต้นต้อยติ่งได้รับน้ำฝน จึงคลี่กลีบดอกออกอวด จึงชูฝักเล็กๆ สีน้ำตางเข้มออกมา เมื่อฝนปรอยอีกครั้ง ฝักต้อยติ่งต่างเล่นฝนจนชุ่ม ที่ตามมาคือเสียงระเบิดเบาๆไปทั้งภูเขา...
เป็นนานที่ชายเดียวดายยืนนิ่ง ใจประหวัดไกลถึงวันคืนผ่านมา วันที่เขายังอยู่ในหมู่บ้านอบอุ่นทางภาคใต้ วันที่พร้อมพรั่งพี่น้องและหลานสาวของเขา เจ้าหญิงตัวเล็กๆ ผู้น่ารักงดงาม
เขายังจำนิ้วอูมป้อมที่เกาะกุมมือเดินเล่นรอบบ้าน จำดวงตาประกายและยิ้มใสที่ได้เห็นสิ่งแปลกๆ รอบตัว จำเสียงหัวเลาะ จำกระทั่งภาพเจ้าหญิงน้อยๆ ค่อยๆ เตาะแตะไปที่ผีเสื้อซึ่งกำลังจุมพิตกลีบดอกไม้ เขาหลับตานึกไปว่า ถ้าเจ้าหญิงได้เห็นเวลาที่ต้อยติ่งระเบิดออกจากฝัก...
และเขาก็ยังจำได้ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะเป็นวันครบรอบวันเกิดของหลานสาว เด็กน้อยเติบโตขึ้นอีกขวบปีแล้ว นั่นประหนึ่งเป็นปฏิทินว่า เขาไม่ได้กลับบ้านเป็นเวลานานเท่ากัน
หากแต่ละวันคืนผ่านมาเคยมีบางเวลาที่รู้สึกเหงา มันก็เทียบไม่ได้เลยกับความเหงาที่ท่วมท้นขึ้นในยามนี้ ชายเดียวดายแทบจะอดทนรอให้ฝนขาดเม็ดไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรเขาก็ต้องรอ
เมื่อฝนหยุดและแสงแดดส่องสาดเช็ดเนื้อเช็ดฝักต้อยติ่งจนแห้งสนิท ชายเดียวดายเดินออกไปในทะเลสีม่วง เขาปาดมือกับกางเกงอีกครั้งก่อนจะก้มเก็บฝักต้อยติ่งจำนวนหนึ่ง เอามันห่อกระดาษแล้วหุ้มด้วยพลาสติกกันน้ำอีกหลายชั้นจนแน่นหนา
หกโมงเย็นวันนั้น เขาร้องเพลงที่เพิ่งแต่งขึ้นใหม่...
เจ้าหญิง เจ้าหญิง
ระเบิดต้อยติ่งกำลังไปหา
พลุสวรรค์สวยงามจับตา
พาฉันย้อนเวลา ด้วยดวงตาเธอ
การเดินทางกลางสายฝนไม่ใช่เรื่องเป็นได้โดยง่าย แต่ชายเดียวดาย
ก็ไม่ย่อท้อ ตรงกันข้าม เขายิ่งก้มหน้าก้มตาสาวท้าวไม่หยุดยั้ง เพราะระยะทางจากภาคเหนือถึงภาคใต้ไม่ใช่ใกล้ๆ ยิ่งกว่านั้น วันเกิดก็กระชั้นเข้าทุกทีแล้ว
เขาไม่กลัวฝน แต่กลัวอย่างยิ่งว่าฝักต้อยติ่งจะโดนฝน เขาจึงเก็บห่อพลาสติกไว้ในซอกกระเป๋าส่วนที่ลึก ตกค่ำ แม้ร่างกายจะกะปลกกะเปลี้ยเหนื่อยอ่อน และต้องการเอนหลังนอนอย่างที่สุด ชายเดียวดายยังเอาซองพลาสติกออกมาอังกับไฟเตาผิงอยู่เป็นนานแล้วจึงล้มตัวนอน
เป็นไปได้ว่าเขาฝันไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าเขาไม่ได้ฝัน ดึกคืนนั้นชายเดียวดายเหมือนได้ยินเสียงเล็กๆ ร้องไห้โวยวายอยู่ข้างๆเตียง
“ช่วยด้วย ช่วยเราด้วย เราโดนคนใจร้ายจับตัวไว้” 
“ขอน้ำกินหน่อยสิ คอแห้งจัง”
“ปล่อยเรานะ ปล่อยเราเดี๋ยวนี้”
“ ไม่ยุติธรรมเลย คนอะไรใจร้ายชะมัดจับเราขังคุกอุดอู้ แถมคิดจะย่างเราอีก”
“เขาไม่ได้ย่าง” อีกเสียงหนึ่งขัดขึ้น “เขาแค่ต้องการให้มั่นใจว่าพวกเราตัวแห้งสนิทเท่านั้น”
“มันเรื่องอะไรล่ะ โธ่เอ๋ย ฝนตกเปาะแปะรอบตัว ฉันได้กลิ่นหอมของน้ำฝน แต่กลับออกไปเล่นไม่ได้”
“เขาเห็นเราเป็นทาสหรือไง”
“ไม่ เขาเห็นเราเป็นของขวัญต่างหาก”
“โถ...ของขวัญ คนที่ได้รับคงดีใจตายล่ะ ของขวัญที่เกิดจากการทรมานชีวิตคนอื่นอย่างนี้”
“ฉันหิวน้ำ ขอกินน้ำหน่อย”
“มีแต่ไฟร้อนๆจะกินไหมล่ะ” 
“บอกว่าจะเอาเราไปให้หลานสาว โอ ช่างน่ารักเหลือเกิน เขาฝันที่จะเห็นหลานสาวตัวน้อยๆเติบโตอย่างงดงาม แต่กลับกีดกั้นเราไว้ ไม่ให้เติบโต ช่างน่ารักและยุติธรรมจริงๆ”
ชายเดียวดายสะดุ้งลืมตา ด้วยแสงรางๆ จากไฟในเตาผิง เขามองห่อต้อยติ่งบนโต๊ะข้างเตียง มันยังอยู่ตรงนั้น เขากวาดตาดูว่าไม่ใครอยู่ในห้องแน่แล้ว จึงเอียงหูลงแนบกับห่อ แต่ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย
เขาเอนตัวลงอีกครั้ง แต่คราวนี้กลับนอนไม่หลับ ไม่ใช่เสียงฝนที่ตกกระทบหลังคาหรอกที่ทำให้เขานอนไม่หลับ
รุ่งเช้าชายเดียวดายออกเดินทางต่อ จะต่างจากเมื่อวานก็ตรงที่วันนี้
เขาก้าวเท้าช้าลงกว่าเดิม
และต่างอยู่เล็กน้อยตรงที่เขาเดินทางกางแขนกางมือทั้งสองข้างออกรับน้ำฝน
อ๋อ...และก็ต่างอีกนิดหน่อยตรงที่ในมือเขาเต็มไปด้วยฝักต้อยติ่งที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้มพันธนาการใดๆ
ชายเดียวดายย่ำฝนไปช้า ๆ ฝักต้อยติ่งบนฝ่ามือต่างหมุนตัวเล่นระบำรับน้ำฝนสนุกสนาน ชายเดียวดายมองพวกมันมีความสุขแล้วเขาก็อดยิ้มไม่ได้ ไม่นานต่อมาต้อยติ่งฝักแก่ระเบิดตัวนำไปก่อน แล้วฝักอื่นๆก็ตามกันไป โดยเฉพาะพวกฝักแฝด มันมีวิธีเล่นไม่เหมือนใคร มันแตกตัวพร้อมกัน และสลับขาโยนเมล็ดข้างในใส่กันด้วยความแม่นยำ อย่างนักระบำที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
เมื่อต้อยติ่งแตกหมดทั้งสองมือ ชายเดียวดายทรุดตัวนั่งลง เขาใช้เวลานั้นร้องเพลงในสายฝน รอให้เมล็ดต้อยติ่งที่หล่นลงพื้นดินงอกขึ้นมาเป็นต้นใหม่ ผลิดอกใหม่ และผลิฝักใหม่ เมื่อนั้นเขาก็ค่อยๆ เก็บฝักแล้วออกเดินทางต่อ เขาวางฝักทั้งหมดไว้ในมือ ด้วยวิธีนี้ แต่ละคืนเขาก็หลับอย่างเป็นสุข 
ด้วยวิธีนี้อาจทำให้การเดินทางช้าไปบ้าง แต่ชายเดียวดายก็พอใจ และคิดว่าเจ้าหญิงตัวน้อยๆของเขาก็คงจะพอใจ
ไม่น่าเชื่อ ในที่สุดเขาก็มาถึงบ้านที่ภาคใต้จนได้ ทั้งยังมาทันงานวันเกิดด้วย
เสียงเด็กๆ หัวเลาะและวิ่งไล่กันสนุกสนานที่ลานหญ้าสีเขียว เจ้าหญิงน้อยของเขายืนอยู่ตรงนั้น ดวงตาเธอวาวประกาย เฝ้ามองผีเสื้อที่กำลังจุมพิตกลีบดอกไม้ 
ชายเดียวดายลากเท้าช้าๆ เขาเดินไปหาเจ้าหญิง ขณะเสียงหวานใสๆเสียงหนึ่งดังขึ้นข้างๆ 
“คุณแม่ขา เรามีแขกมาถึงอีกคนหนึ่งค่ะ เพิ่งมาค่ะ ใครกันคะนั่น? โอ...คุณลุงใช่ไหมคะ คุณแม่ขาคุณลุงมาแล้ว...คุณลุงมาแล้ว” 
เขาหันไปทางต้นเสียงด้วยความประหลาดใจ หญิงสาวคนหนึ่งประพิมพ์ประพายเดียวกับเจ้าหญิงน้อยๆ ตรงหน้า ยิ้มให้แล้วโถมเข้ามาอย่างดีใจ เมื่อปลายนิ้วของเธอสัมผัสกับหัวใจของเขา ชายเดียวดายก็รู้ว่าเธอมิใช่ใครอื่น เจ้าหญิงตัวน้อยๆ ในวันเก่าของเขานั้นเอง
บัดนี้ชายเดียวดายไม่ใช่ชายฉกรรจ์อีกต่อไปแล้ว เส้นผมบนศรีษะซึ่งดำขลับในวันเริ่มต้นเดินทาง กลับกลายเป็นปุยขาว เช่นเดียวกับขนกระต่าย หลานสาวตัวเล็กๆ ในครั้งโน้นก็เติบโตเป็นหญิงสาวสวยงาม เธอมีสามีที่ดี และมีเจ้าหญิงตัวน้อยๆ ที่ครบรอบวันเกิดในวันนี้
“ดูนี่ซีจ๊ะ ลูก คุณตามีของวิเศษอะไรมาให้หนูเอ่ย” เธอพูดกับเจ้าตัวน้อย 
ปลายนิ้วอูมป้อมแตะที่มือชายชรา นัยน์ตาประกายจ้องมอง ของวิเศษในมือที่เหี่ยวย่น ยิ้มน้อยระบายก่อนจะเปล่งเสียงหัวเราะ แม้เป็นวันที่ฟ้าใสไร้เมฆ แต่น้ำก็หยาดลงมาได้ เป็นน้ำจากดวงตาพร่าพรายของคนที่เดียวดายตลอดการเดินทาง
ฝักต้อยติ่งในอุ้งมือต่างพลิกตัวบิดขี้เกลียด แท้แล้วพวกมันกำลังฝันหวาน มันฝันว่าฝนแรกกำลังมา และเสียงเพลงจากที่ไกลๆเพลงหนึ่งก็ชวนให้ออกไปเต้นระบำ
นกน้อยก้มมองด้วยความแปลกใจ ที่จู่ๆ กระต่ายภูเขาก็หยุดเล่านิทานของมันลงเฉยๆ
“จบแล้วหรือ? ทำไมไม่เล่าต่อล่ะจ๊ะ” เธอร้องถาม
“ผมยอมรับว่าผมนึกไม่ออก...” กระต่ายพูดช้าๆ แม้คิ้วขมวดแสดงความกังวลออกมาเล็กน้อย แต่น้ำเสียงยังคงเนิบนุ่มสบายใจ
“นึกไม่ออกว่าจากวันนั้นเป็นต้นมา ผมควรจะเปลี่ยนคำใช้เรียกชายผู้นั้นว่าอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับความเป็นจริง ในเมื่อผมเรียกเขาว่า ชายเดียวดาย มาจนติดปากเสียแล้ว”
“หมายความว่า นับจากวันนั้นเป็นต้นมาเขาไม่เดียวดายอีกต่อไป” นกน้อยรีบต่อด้วยความดีใจ 
“...ในที่สุด เขาก็ตัดสินใจพำนักอยู่กับครอบครัวของเขาอย่างมีความสุขตราบกาลนาน ใช่ไหมจ๊ะ”
กระต่ายส่ายหน้า
“ไม่หรอกครับ ตอนจบที่แท้จริงก็คือ ชายผู้นั้นได้เดินทางกลับคืนสู่ภูเขาทางภาคเหนืออีกครั้ง กลับไปอยู่ในกระท่อมอันเคยเดียวดายหลังนั้น”
เมื่อชำเลืองเห็นนกน้อยถอนใจอย่างเสียดาย กระต่ายหลับตาลง และเล่าต่อว่า
เพียงแต่ในกาลต่อมา เขาไม่เคยเหงาอีกเลย ด้วยทุกๆปีจะมีเด็กหญิงเด็กชายตัวเล็กๆ ผลัดเวียนเปลี่ยนหน้าเดินทางมาหาเขามิได้ขาด มาช่วยปลูกผัก มาฟังนิทาน มาให้เขาจูงมือน้อยๆพาไป...
แม้จะก้าวเตาะแตะ แต่เท้าเล็กๆ หลายคู่นั้นก็ไม่มีวันหลง 
จะยากอะไรในการเดินทางจากภาคใต้ขึ้นมาเสาะแสวงหาบ้านของชายผู้เคยเดียวดายแห่งผูเขาทางภาคเหนือ...ก็แค่มาตามเส้นทางสายเล็กๆ ที่มีต้อยติ่งสะพรั่งสองข้างทางเท่านั้นเอง